เผยแพร่: ปรับปรุง: โดย: ผู้จัดการออนไลน์
นายณัฐภัทร สุวรรณประทีป ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี โพสต์เฟซบุ๊ก ชี้แจงกรณีคลัสเตอร์โรงงานไก่ อ.สองพี่น้อง ระบุว่า ยังคงมีคำถามมาเรื่อยๆ ถึงกรณีคลัสเตอร์ โรงงาน ไก่ อ.สองพี่น้อง ซึ่งผมได้ให้ทางสาธารณสุขจังหวัด และสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสุพรรณบุรี ชี้แจงไปก่อนหน้าแล้ว และในวันนี้ผมจะขอมาอธิบายอย่างละเอียด อีกครั้งเพื่อสร้างความเข้าใจ ถึงหลักการบริหารจัดการ และการควบคุมโรคจังหวัดสุพรรณบุรี
1.เมื่อทราบว่ามีผู้ติดเชื้อในโรงงาน บริษัทได้หยุดการผลิต และจนท.สาธารณสุข ลงพื้นที่คัดกรอง สอบสวนโรคทันที (ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.64)
2.เพื่อให้สามารถวางแผนจัดการ และคัดแยกผู้ติดเชื้อได้เร็วที่สุด จึงใช้ Rapid Test คัดกรองพนักงาน ทั้งหมด จำนวน 2,510 คน (100%) โดยบริษัทเป็นผู้รับผิดชอบ ค่าใช้จ่าย ในส่วนนี้เอง
3.แบ่งพนักงานเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1)กลุ่มผู้ติดเชื้อ
2)กลุ่มผู้ สัมผัส เสี่ยงสูง
3)กลุ่มไม่ติดและไม่เสี่ยง
4. นำพนักงานกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 มา Swap Test ซ้ำอีกครั้ง แยกผู้ติดเชื้อ ออกมารักษา สำหรับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ถูกกักตัว ณ หอพักของโรงงาน
5. จากผลการคัดกรอง และผล Swap Test ทำให้ทราบว่า การแพร่ระบาดกระจุกตัวอยู่เฉพาะบางกลุ่ม จึงได้ปิดโรงงาน A เพื่อใช้เป็น รพ.สนาม และที่กักตัว (บริษัทสร้างในบริเวณโรงงานและเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย) จึงให้พนักงานกลุ่ม 3 ทั้งหมดที่เหลือ (บุคคลที่ไม่ติดและไม่เสี่ยง) มาทำงานในโรงงาน B
6. ได้ฉีดวัคซีนซิโนฟาร์ม เข็ม 1 ในวันที่ 18 ก.ค.64 ให้กับพนักงานกลุ่ม 3 ที่ไม่ติดและไม่เสี่ยง จำนวน 1,435 โดส (โดยวัคซีน นี้บริษัทเป็นผู้จ่ายเงินและสั่งซื้อตรงกับทางราช วิทยาลัย ฯ ได้รับการจัดสรรตามโควต้า ของโรงงานอุตสาหกรรม)
7. จะมีการ Swap Test ซ้ำ ของผู้สัมผัส เสี่ยงสูง ที่ถูกกักตัวอยู่เป็นระยะ ๆ
สาเหตุ ที่ไม่ปิดโรงงาน B ด้วยเพราะ?
จากกรณี การแพร่ระบาด ในแคมป์ คนงาน หรือคลัสเตอร์ โรงงานต่างๆ ของไทยที่ผ่านมา ที่มีพนักงานเป็นชาวต่างชาติ เมื่อมีการปิดโรงงานทั้งหมด (shut down100%) แรงงานเหล่านี้ ซึ่งมีจำนวนมาก และไม่ได้มีถิ่นฐานแน่ชัด พอขาดรายได้ก็จะอพยพ หรือหลบหนีออกนอกพื้นที่ อาจทำให้เชื้อแพร่กระจายสู่ชุมชน ยากต่อการควบคุม เราจึงเลือกที่จะหยุดการผลิตทั้งหมดในช่วงแรก ทำความสะอาดพ่นฆ่าเชื้อ อุปกรณ์ และพื้นที่ทั้งหมด ปิดโรงงานบางส่วนทำเป็น รพ.สนามและที่กักตัว หลังจากนั้นให้แรงงานที่ไม่ติด/ไม่เสี่ยง (กลุ่ม 3) ได้ทำงานต่อ ให้เขามีรายได้ อยู่ในการควบคุมดูแล โดยใช้วิธี Bubble & Seal บริษัทจะจัดที่พักให้ในโรงงาน และจัดหาที่พักด้านนอก โดยมีการควบคุมการเดินทาง จากที่พักถึงที่ทำงาน เมื่อพนักงานกลับถึงบ้านหรือที่พักให้แยกกักตัว ไม่ออกไปไหน ซึ่งจะมีสาธารณสุข อำเภอสองพี่น้อง และฝ่ายปกครองคอยควบคุม
ยอดติดเชื้อสะสมโรงงานไก่
โรงงาน A : 148 ราย
โรงงาน B :46 ราย
ไม่พบผู้ ติดเชื้อเพิ่มติดต่อกันมาเป็นเวลา 2 วัน
ซึ่งวันนี้ (26 ก.ค.64) จะมียอดผู้ ติดเชื้อ เพิ่มขึ้น จากผล Swap Test ซ้ำ ของกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูงที่ถูกกักตัวอยู่
สุดท้ายนี้ผมขอบคุณ สำหรับข้อมูล /ข้อเสนอแนะ ด้วยดีเสมอมา ผมเข้าใจและน้อมรับทุกคำติชม เพราะรู้ดีว่าเราต่างมีจุดประสงค์ เดียวกัน ที่มุ่งหวังดีต่อ จ.สุพรรณบุรี ขอบคุณ ทุกท่านที่เปิดใจรับฟัง
สำหรับท่านใดที่สงสัยว่าวิธี Bubble & Seal ทำอย่างไร จะอธิบาย ในโพสต์ถัดไปครับ