กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดวิธีรับมือ “น้ำท่วม 2564” ที่กำลังเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ในไทย แบ่งเป็นวิธีเตรียมรับมือ ติดตามข่าวสารเฝ้าระวัง และวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุอุทกภัยขึ้น
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดวิธีรับมือ “น้ำท่วม 2564” ที่กำลังเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ในไทย แบ่งเป็นวิธีเตรียมรับมือ ติดตามข่าวสารเฝ้าระวัง และวิธีปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุอุทกภัยขึ้น
วันนี้ (27 ก.ย.) หลายพื้นที่ในไทยเกิดเหตุอุทกภัย มีมวลน้ำปริมาณมากไหลบ่าเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน ภัย “น้ำท่วม 2564” ครั้งนี้ หลายคนกังวลว่าอาจจะซ้ำรอย “น้ำท่วมใหญ่” ปี 2554 แม้ขณะนี้ยังไม่มีรายงานปริมาณน้ำในจุดที่น่ากังวล แต่ก็มีชาวบ้านได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วมแล้วหลายหมื่นครัวเรือน
ล่าสุด.. กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.)รายงานว่า ได้เร่งให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบ “น้ำท่วม” ใน 27 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, ตาก, สุโขทัย, พิษณุโลก, เพชรบูรณ์, พิจิตร, กำแพงเพชร, เลย, ขอนแก่น, ชัยภูมิ, นครราชสีมา, บุรีรัมย์, สุรินทร์, อุบลราชธานี, สระแก้ว, จันทบุรี, นครสวรรค์, อุทัยธานี, ชัยนาท, ลพบุรี, สุพรรณบุรี, สิงห์บุรี, อ่างทอง, พระนครศรีอยุธยา, นครปฐม
รวมทั้งหมด 120 อำเภอ 417 ตำบล 1,933 หมู่บ้าน 1 เขตเทศบาล ประชาชนได้รับผลกระทบ 58,977 ครัวเรือน และสถานการณ์คลี่คลายแล้ว 4 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่, ลำพูน, ลำปาง, บุรีรัมย์
นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลวิธีรับมือภัย “น้ำท่วม” มาแนะนำให้ประชาชนที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงต่อการเกิดอุทกภัย ได้ทราบและนำไปปฏิบัติอย่างเคร่งครัด ดังนี้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
- เช็คเลย! ปภ.แจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลันวันที่ 27 ก.ย.64
- “นายกฯ” สั่งเตรียมแผนป้องกัน “น้ำท่วม” พื้นที่ “กทม.-ปริมณฑล” แล้ว
- สถานการณ์ ‘น้ำท่วม’ ฉุกเฉินโทรสายด่วน รถ-เรือ-เฮลิคอปเตอร์
- เกษตรกร ‘น้ำท่วม’ รับเงินเยียวยาภายใน 3 เดือน
- ‘ออมสิน’ ออกสินเชื่อฉุกเฉินช่วยน้ำท่วม กรณีพายุ ‘เตี้ยนหมู่’
1. เตรียมพร้อม ติดตาม เฝ้าระวัง
– สังเกตระดับน้ำ ติดตามข่าวประกาศแจ้งเตือน
– เตรียมยกของขึ้นที่สูง
– หากมีการแจ้งอพยพ ให้รีบอพยพทันที
– เตรียมอพยพสัตว์เลี้ยงไว้ในที่สูง
2. เมื่อเกิดน้ำท่วม
– รีบแจ้ง อบต./กำนัน/ผู้ใหญ่บ้าน หรือแจ้ง 1784
– ระมัดระวังการใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า
– ไม่ให้เด็กไปเล่นน้ำในพื้นที่น้ำท่วม/น้ำหลาก
– เลี่ยงการขับรถไปในเส้นทางน้ำท่วม
3. แจ้งเหตุน้ำท่วม 2564
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเตือนคนไทยในพื้นที่ฝนตกหนัก ฝนตกต่อเนื่อง ระดับน้ำขึ้นสูง ให้ติดตามข่าวสารและเฝ้าระวังภัย “น้ำท่วม” พร้อมแจ้งเหตุเมื่อพบอุทกภัย ได้ 24 ชม.
– สายด่วนนิรภัย โทร.1784
– สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ โทร.1669
ขอให้ประชาชนติดตามข้อมูลสภาพอากาศและข่าวสารจากทางราชการ พื้นที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ฝนตกหนัก ปริมาณฝนสะสม โดยเฉพาะพื้นที่ชุมชนเมืองอาจได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมขังระยะสั้นๆ พื้นที่ลุ่มต่ำ พื้นที่ลาดเชิงเขา อาจเกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
รวมทั้งอาจเกิดดินถล่ม พื้นที่ริมลำน้ำ อาจได้รับผลกระทบจากน้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมในระดับสูง ระวังอันตรายจากสัตว์และแมลงมีพิษ อันตรายจากกระแสไฟฟ้า รวมทั้งการขับขี่พาหนะบริเวณน้ำไหลผ่านเส้นทาง
อัพเดท! สถานการณ์ “น้ำท่วม” 27 ก.ย.64
เวลา 09.45 น. รายงานสถานการณ์/แจ้งเตือนภัย : มีพื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน และน้ำป่าไหลหลาก ได้แก่ จ.ตาก (อ.แม่สอด พบพระ อุ้มผาง แม่ระมาด), เพชรบูรณ์ (อ.หนองไผ่ ชนแดน วังโป่ง), นครสวรรค์ (อ.แม่วงก์), อุทัยธานี (อ.ลานสัก บ้านไร่ ห้วยคต)
จ.ชัยภูมิ (อ.ภักดีชุมพล หนองบัวแดง เกษตรสมบูรณ์), นครราชสีมา (อ.วังน้ำเขียว ครบุรี), จ.สระแก้ว (อ.ตาพระยา), จันทบุรี (อ.ขลุง เมืองฯ มะขาม เขาคิชฌกูฏ โป่งน้ำร้อน), ตราด (อ.เขาสมิง บ่อไร่), จ.พังงา (อ.ตะกั่วป่า ท้ายเหมือง กะปง)
เวลา 11.25 น. รายงานสถานการณ์/แจ้งเตือนภัย : เกิดอุทกภัยใน 27 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ พิจิตร กำแพงเพชร เลย ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ อุบลราชธานี สระแก้ว จันทบุรี นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา และนครปฐม
สถานการณ์คลี่คลายแล้ว 4 จังหวัด (เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง และบุรีรัมย์) ยังคงมีสถานการณ์ 23 จังหวัด ปัจจุบันภาพรวมสถานการณ์ในพื้นที่ระดับน้ำทรงตัว ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำ อยู่ระหว่างการเร่งระบายน้ำ
เวลา 14.55 น. รายงานสถานการณ์/แจ้งเตือนภัย : ใน 24 ชม.ที่ผ่านมา สรุปเหตุอุทกภัย เกิดขึ้นใน 429 หมู่บ้าน/ชุมชน 7 จังหวัด 21 อำเภอ 90 ตำบล/เทศบาล (กำแพงเพซร ตาก ระยอง ลพบุรี เลย ครีละเกษ สิงห์บุรี) มีบ้านเรือนน้ำท่วมขัง 37,915 หลัง, น้ำท่วมถนน/สะพาน 15 แห่ง, วัด 1 แห่ง, โรงเรียน 1 แห่ง
—————————-
อ้างอิง : DDPMNews