เมื่อวันที่ 6 มีนาคม นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน มอบหมายให้นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล ส่งเจ้าหน้าที่และเครื่องสูบน้ำของฝ่ายปฏิบัติการเครื่องจักรกลสูบน้ำที่ 3 (จังหวัดนนทบุรี) ส่วนเครื่องจักรกลสูบน้ำ สำนักเครื่องจักรกล ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซล ขนาด 12 นิ้ว (0.3 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) จำนวน 6 เครื่อง บริเวณคลองมะขามเฒ่าอู่ทอง ตำบลไร่รถ (จำนวน 1 เครื่อง) อำเภอดอนเจดีย์ และบริเวณคลองบึงกระเทียม ตำบลสนามคลี (จำนวน 1 เครื่อง) ตำบลสระแก้ว (จำนวน 2 เครื่อง) และตำบลตลิ่งชัน (จำนวน 2 เครื่อง) อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เขตพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาดอนเจดีย์ สำนักงานชลประทานที่ 12 โดยสูบน้ำจากคลองมะขามเฒ่าอู่ทองและคลองบึงกระเทียม ลงคลองซอยต่างๆ สามารถสูบน้ำได้วันละ 142,500 ลูกบาศก์เมตร เพื่อช่วยเหลือบรรเทาภัยแล้งให้มีน้ำอุปโภค – บริโภคและรักษาระบบนิเวศ พื้นที่รับประโยชน์ 2,000 ครัวเรือน
นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม เปิดเผยเพิ่มเติมว่าได้สั่งการให้ฝ่ายปฏิบัติการเครื่องจักรกลสูบน้ำที่ 3 (จังหวัดนนทบุรี) ส่วนเครื่องจักรกลสูบน้ำ สำนักเครื่องจักรกล ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำขับด้วยเครื่องยนต์ดีเซล ขนาด 12 นิ้ว(0.3 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) จำนวน 2 เครื่อง บริเวณคลองระบายน้ำสายใหญ่สามชุก2 (กม.14+420) หมู่ 9 ตำบลสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เขตพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาดอนเจดีย์ สำนักงานชลประทานที่ 12 โดยสูบน้ำจากคลองระบายน้ำสายใหญ่สามชุก2 ส่งเข้าไปยังคลองระบายน้ำ 5 ขาวสามชุก 2 สามารถสูบน้ำได้วันละ 47,500 ลูกบาศก์เมตร เพื่อช่วยเหลือบรรเทาภัยแล้งให้มีน้ำอุปโภค – บริโภคและรักษาระบบนิเวศ พื้นที่รับประโยชน์ 600 ครัวเรือน
นอกจากนี้ยังได้ส่งเจ้าหน้าที่และเครื่องสูบน้ำของฝ่ายปฏิบัติการเครื่องจักรกลสูบน้ำที่ 3 (จังหวัดนนทบุรี) ส่วนเครื่องจักรกลสูบน้ำ สำนักเครื่องจักรกล ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำแบบไฮดรอลิค ขนาด 24 นิ้ว (1.0 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที) จำนวน 2 เครื่อง บริเวณบึงลาดเตียน ตำบลศาลาขาว อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี เขตพื้นที่โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาดอนเจดีย์ สำนักงานชลประทานที่ 12 โดยสูบน้ำจากบึงลาดเตียน ส่งเข้า เข้าคลองระบายน้ำสายใหญ่สามชุก 2 สามารถสูบน้ำได้วันละ 158,400 ลูกบาศก์เมตร เพื่อช่วยเหลือบรรเทาภัยแล้ง ให้มีน้ำอุปโภค – บริโภคและรักษาระบบนิเวศ พื้นที่รับประโยชน์ 2,000 ครัวเรือน